May 30, 2023

แบบนี้ก็ได้เหรอ! ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับ “การกรวดน้ำ”

เมื่อพระสงฆ์สวดบท “ยถา…” เป็นความคุ้นเคยของพระพุทธศาสนิกชนผู้ร่วมพิธีประกอบการบุญ การกุศลในทางพระพุทธศาสนา เราจะสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าขั้นตอนนี้เราควร “กรวดน้ำ” ตามความเชื่อโบราณที่เกิดมาเราก็เห็นพิธีทางศาสนากันมาตั้งแต่ยังเด็ก ผู้ใหญ่หลายท่านมักพูดว่า “ทำบุญ แล้วต้องกรวดน้ำด้วย ไม่อย่างนั้นเราจะไม่ได้บุญ” หรือหากเป็นการทำบุญให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะไม่ได้รับส่วนบุญที่เราทำให้ หากไม่มีการกรวดน้ำ แล้วทำไมต้อง “กรวดน้ำ” ? การที่เราตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับญาติ คนรู้จักที่ล่วงลับไปแล้ว หรือเทวดาประจำกาย ตลอดจนเหล่าเจ้ากรรมนายเวร และวิญญาณที่ไม่มีญาติ เราสามารถกรวดน้ำได้ในทันทีที่เราทำบุญเสร็จ หรือเราจะกลับไปกรวดน้ำที่บ้านก็ได้ แต่อย่างหลังนี้หลายคนอาจจะกลับบ้านไปแล้วลืมไปเลย …

บทสวดขอขมากรรม ขออโหสิกรรม ขอขมาเจ้ากรรมนายเวร

บทสวดขอขมากรรม ขออโหสิกรรม คำอธิษฐานอโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร สำหรับใครที่อยากขอขมาเจ้ากรรมนายเวร หลังทำบุญ หลังสวดมนต์ก่อนนอน หรือขณะจุดธูปขอขมาเจ้ากรรมนายเวร ก็สามารถกล่าวบทสวดนี้ได้ บทสวดขอขมากรรม ขออโหสิกรรม คำอธิษฐานอโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร ตั้งนะโมฯ 3 จบ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต …

รวมบทกรวดน้ำแบบสั้น บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร บทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

รวบรวมคำกล่าวบทกรวดน้ำหลังทำบุญเสร็จในรูปแบบต่างๆ มาฝากทุกคน เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ เทวดาประจำตัว เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งบทกรวดน้ำแบบสั้น, บทกรวดน้ำให้เทวดาประจำตัว, บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร และบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล บทกรวดน้ำแบบสั้น อิทัง เม ญาตินัง โหนตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขด้วยเทอญ บทกรวดน้ำให้เทวดาประจำตัว ตั้งนะโม 3 จบ …

3 คำกรวดน้ำ อุทิศบุญ มอบบุญ ถวายบุญ ต้องใช้อย่างไร

หมอปลาย พรายกระซิบ ไขข้อสงสัย 3 คำกรวดน้ำ อุทิศบุญ มอบบุญ และถวายบุญ ใช้กับใคร และใช้อย่างไร หลังจากเสร็จสิ้นการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ เจ้ากรรมนายเวร หรือเทวดาประจำตัว ก็จะมีการพูดเพื่ออุทิศบุญให้กับเขาเหล่านั้น เช่นประโยคที่ว่า ข้าข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญกุศลให้กับ… แต่ทราบหรือไม่ว่า คำกล่าวในการกรวดน้ำนั้นมีบริบทในการใช้ที่แตกต่างกันอยู่ ระหว่างคำว่า มอบบุญ, อุทิศบุญ และถวายบุญ แต่ละคำควรใช้อย่างไรจึงจะสื่อสารถึงผู้รับได้อย่างชัดเจน หมอปลาย พรายกระซิบ …

วิธีการกรวดน้ำอุทิศบุญที่ถูกต้อง

ใช้มือขวาจับภาชนะที่เทน้ำแล้วเริ่มเทน้ำลงไป โดยเริ่มกรวดน้ำขณะที่พระท่านขึ้นต้นบทสวดว่า “ยะถา วะริวะหาปูรา…” โดยเทน้ำไปเรื่อยๆไม่ให้ขาดสาย ขณะที่เทน้ำนั้นก็ให้ตั้งจิตอุทิศบุญที่ทำนั้นส่งให้ผู้ที่ต้องการจะให้โดยไม่ต้องกังวลถึงสิ่งใด ระวังอย่าให้จิตส่ายและไม่ต้องกลัวว่าพระจะสวดจบบทกรวดน้ำเสียก่อน เพราะสิ่งสำคัญในการส่งบุญก็คือจิตที่แน่วแน่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ส่วนมืออีกข้างที่ไม่ใช้กรวดน้ำอีกข้างระวังอย่าเอามือหรือนิ้วไปขวางทางน้ำที่ไหล เพราะจะเป็นการปิดกั้นกระแสบุญไม่ให้ไหลอย่างสะดวกและมีผู้ปฏิบัติผิดๆเช่นนี้อยู่มากมาย อย่างไรก็ตามถ้าหากไม่สามารถหาน้ำมากรวดให้ได้ทันก็ใช้วิธีการกรวดแห้งก็ได้ คือใช้จิตที่ตั้งมั่นแล้วนั้นเป็นการส่งบุญ บุญนั้นย่อมส่งถึงตัวผู้ที่เราปรารถนาให้ได้รับเช่นเดียวกัน การรับพรพระ คือ อาการที่ผู้ที่ทำบุญนั้นได้แสดงความนอบน้อมทั้งกายและใจ รับความปรารถนาดี ที่พระภิกษุสงฆ์ตั้งจิตที่มีเปี่ยมด้วยความเมตตาปรารถนาให้ผู้ให้ทานนั้นมีความสุข ทำการสวดประสิทธิ์ประสาท ให้ผู้ทำบุญได้รอดพ้นจากอันตรายภัยพิบัติทั้งหลาย และเจริญด้วยอายุ (ชีวิต) วรรณะ (ฐานะ) สุขะ …